ประเภทของยาระบาย

ประเภทของยาระบาย

แชร์บทความนี้

ประเภทของยาระบาย

เมื่อมี อาการท้องผูกขับถ่ายยาก หลายครั้งต้องนั่งนานเป็นชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย อันเนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารของแต่ละคนหรือเป็นที่ร่างกายของบุคคลนั้นก็ตามที่ทำให้ขับถ่ายยาก วิธีที่นิยมใช้เป็นอันดับแรกก็คือการใช้ยาระบาย ปัจจุบันยาระบายมีหลากหลายประเภทแล้วแต่จะเลือกใช้

ประเภทของยาระบาย

  1. ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ (ฺBulk-forming laxatives) ออกฤทธิ์ทำให้อุจจาระจับตัวกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำ อุจจาระจะมีขนาดใหญ่ซึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้ขับถ่ายได้เร็วขึ้น โดยมีไซเลียม (Psyllium) เมธิลเซลูโลส (Methylcellulose) และโพลีคาร์โบฟิล (Polycarbophil) ก่อนรับประทานยาในกลุ่มนี้ต้องปล่อยให้ยาพองตัวในน้ำให้เต็มที่ก่อน และต้องดื่มน้ำตามให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ยาอุดตันทางเดินอาหาร เหมาะกับผู้ที่ท้องผูกเนื่องจากรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์น้อยและลำไส้ยังสามารถทำงานได้ดี ผู้ที่ลำไส้บีบตัวไม่ดีซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ อาจได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่จากการใช้ยาในกลุ่มนี้โดยลำพัง (บางกรณีจึงต้องให้ยาในกลุ่มอื่นร่วมด้วย) อีกทั้งยังทำให้ท้องอืดได้ง่าย นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับท้องผูกชนิดที่อุจจาระอัดเป็นก้อนแข็งจนถ่ายไม่ออก ยากลุ่มนี้ใช้เวลา 2-3 วันกว่าจะเห็นผลในการช่วยขับถ่าย
  2. ยาระบายชนิดเพิ่มน้ำในลำไส้ (Osmotic laxatives) ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ดึงน้ำไว้ในช่องลำไส้ใหญ่โดยวิธีออสโมซิส (osmosis) ช่วยให้อุจจาระนุ่มและผ่านสำไส้ใหญ่ได้ดีขึ้น ยาบางชนิดอาจมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างอื่นร่วมด้วย มีประสิทธิภาพในกรณีที่อุจจาระเป็นก้อนแข็ง การใช้เป็นเวลานานจะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารและการเสียสมดุลอิเล็กโทรไลต์ นอกจากนี้แมกนีเซียมถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้เล็กน้อย อาจรบกวนการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจยาในกลุ่มนี้ใช้เวลาแตกต่างกันกว่าจะเริ่มเห็นผลในการช่วยขับถ่าย ซึ่งพีอีจีใช้เวลา 2-4 วันหลังรับประทานยา แล็กทูโลสใช้เวลา 1-2 วัน ส่วนแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ใช้เวลา 0.5-6 ชั่วโมง
  3. ยาระบายชนิดกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (Stimulant laxatives)  ออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้บีบตัวเพิ่มขึ้น ไม่ควรใช้ยาระบายประเภทนี้เป็นประจำ เนื่องจากทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและอิเล็คโทรไลท์ในร่างกายเสียสมดุลได้ โดยมีบิซาโคดิล (Bisacodyl) และเซนโนไซด์ (Sennosides) เป็นสารออกฤทธิ์นอกจากนี้การใช้เป็นเวลานานอาจรบกวนระบบประสาทในทางเดินอาหาร (enteric nervous system) ยาในกลุ่มนี้เริ่มเห็นผลในการช่วยขับถ่ายภายใน 6-12 ชั่วโมงหลังรับประทานยา หากเป็นบิซาโคดิลชนิดให้ทางทวารหนักเห็นผลในการช่วยขับถ่ายภายใน 10-45 นาที
  4. ยาระบายชนิดทำให้อุจจาระนุ่ม (Stool softeners) ตัวอย่างเช่น ด็อกคิวเสต (docusate sodium และ docusate calcium) ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ดึงน้ำเข้ามาในก้อนอุจจาระโดยลดแรงตึงผิวอุจจาระ (detergent-like action) ทำให้อุจจาระเหลวและขับถ่ายง่าย มีประสิทธิภาพในกรณีที่อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ข้อมูลการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาในระยะยาวมีน้อย ยาให้ผลช่วยขับถ่ายภายใน 1-2 วันหลังรับประทาน หากเป็นชนิดที่ให้ทางทวารหนักยาให้ผลช่วยขับถ่ายภายใน 15 นาที
  5. ยาระบายที่ทำให้อุจจาระนิ่ม (Emollient Laxative) ออกฤทธิ์เพิ่มความชุ่มชื้นและทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น อ่อนโยนต่อระบบขับถ่าย สามารถใช้ได้เป็นประจำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกไม่มากหรือท้องผูกเรื้อรัง โดยมีด็อกคูเสทโซเดียม (Docusate Sodium) และด็อกคูเสทแคลเซียม (Docusate Calcium) เป็นสารออกฤทธิ์
  6. ยาระบายแบบสารหล่อลื่น (Lubricant Laxative) ออกฤทธิ์เคลือบอุจจาระและลำไส้เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำและทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกในระยะสั้นและต้องการขับถ่ายโดยด่วน โดยมีน้ำมันแร่ (Mineral Oil) เป็นสารออกฤทธิ์
  7. ยาระบายแบบไฮเปอร์ออสโมติก (Hyperosmotic Laxative) ออกฤทธิ์ดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้นและทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง หากมีการใช้ยาระบายในรูปแบบนี้ติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยมีโพลีเอทิลีน ไกลคอล (Polyethylene Glycol) และกลีเซอรีน (Glycerin) เป็นสารออกฤทธิ์
  8. ยาระบายแบบเกลือ (Saline Laxative) ออกฤทธิ์ดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น กระตุ้นการทำงานของลำไส้และทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวได้ง่ายขึ้น โดยยาระบายแบบเกลือจะมีสารออกฤทธิ์ คือ แมกนีเซียมซิเตรท (Magnesium Citrate) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Magnesium Hydroxide) หรือมิลค์ออฟแมกนีเซีย ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อได้ทั่วไป แต่ไม่ควรใช้ยาระบายในรูปแบบนี้เป็นประจำ เนื่องจากทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและอิเล็คโทรไลท์ในร่างกายเสียสมดุลได้ 

หากใครที่มีอาการท้องผูกขับถ่ายยากขอแนะนำ ยาหมิง เป็นยาระบาย ช่วยล้างสารพิษในลำไส้ ป้องกันและ บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นและเป็นปกติปรับสมดุลการไหลเวียนของเลือดในร่างกายให้เป็นปกติ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

ขอขอบคุณที่มา

ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี, ท้องผูกและการใช้ยาระบาย, ยาระบาย

เครื่องมือทางการแพทย์
ยาหมิง ยาระบาย

หากต้องการซื้อยาสมุนไพรไทย-จีน บริษัท แม็กดีซีน จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจำหน่าย ยาสมุนไพรไทย-จีน ที่มีคุณภาพอุดมไปด้วยสมุนไพรไทย-จีน หลากหลายชนิดที่จะสามารถช่วยเสริมสร้างปรับสมดุลของร่างกาย และช่วยคืนความสดใสให้กับคุณ มีมาตรฐานสากล ท่านที่สนใจสามารถคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ติดต่อสอบถาม เพิ่มได้ทันที

แสดงความคิดเห็น

Get updates and learn from the best

บทความใกล้เคียง

line logo