ยาเสพติดตัวร้าย
ยาเสพติดตัวร้าย หมายถึงสารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใดๆ เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในส่วนของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ที่ใช้สาร โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญที่ทำให้เกิดความอยากเสพและการใช้สารนั้นซ้ำๆ จนหยุดเสพหรือลดปริมาณการใช้ไม่ได้
ประเภทของยาเสพติดตัวร้าย
- แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1.1 ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น
1.2 ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น - แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ2.1 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ2.2 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 2 ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน2.3 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 3 ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่างๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น2.4 ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 4 คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติ แอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก 12 ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้2.5 ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ 1 ถึง 4 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
- แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ3.1 ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท3.2 ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และโคคาอีน3.3 ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และเห็ดขี้ควาย3.4 ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา
- แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภท คือ1. ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน2. ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น3. ประเภทแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้4. ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน5. ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา6. ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา7. ประเภทใบกระท่อม8. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด9. ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่
วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติดตัวร้าย
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
ผู้ที่เสพสารเสพติด สุขภาพร่างกายจะทรุดโทรม สีหน้าหมองคล้ำ ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ริมฝีปากเขียวคล้ำ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง ม่านตาขยาย
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
พฤติกรรมของผู้ที่เสพจะมีการการวิตกกังวล เศร้าซึม หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล ขาดความยับยั้งชั่งใจ
การสังเกตอาการขาดยา
มีน้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจจาระเป็นเลือด เหงื่อออกมากผิดปกติ ปวดเสียวในกระดูก มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้
การแบ่งประเภทตามการออกฤทธิ์
สารกดประสาท (depressants)
สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ทำให้จิตประสาท ของผู้ที่ใช้สารเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางช้าลง เช่น ระดับการรับรู้สติสัมปชัญญะลดลงจาก สภาวะที่เป็นอยู่เดิม
สารกระตุ้นประสาท (stimulants)
สารกระตุ้นประสาทออกฤทธิ์โดยการเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) เป็นหลัก
สารหลอนประสาท (hallucinogens)
สารหลอนประสาทเป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้เกิดประสาทการรับรู้มีการเปลี่ยนแปลง มี อาการหลอนทางระบบประสาทการรับรู้ เช่น ทางการมองเห็น การได้ยิน การรับรส รวมถึงการ สัมผัสรับรู้ตัวเอง และการรับรู้สิ่งนอกตัว
สารโอปิออยด์ (opioids)
สารโอปิออยด์เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อตัวรับโอปิออยด์ (opioid receptor) ในสมองโดย ตรง โดยตัวรับโอปิออยด์จะมีอยู่ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่สมอง ไขสันหลัง และระบบ ทางเดินอาหาร ซึ่งตัวรับนี้มีอยู่ทั้งหมดสี่ชนิด คือ เดลต้า (delta; δ) แคปป้า (kappa; κ) มิว (mu; μ) และ นอซิเซปติน (nociception) เมื่อสมองได้รับโอปิออยด์ จะทำให้เกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม และมีฤทธิ์ลดอาการปวด สารโอปิออยด์ จึงสามารถถูกจำแนกอยู่ในสารจำพวกกดประสาทได้ด้วย
สารอื่นๆ หรือที่ออกฤทธิ์ผสมผสาน
สารเสพติดที่แบ่งชนิดตามกลไกการออกฤทธิ์ของสารนั้น จะสามารถทำให้ทราบได้ว่า สารชนิดใดจะเกิดผลกระทบต่อสมองและร่างกายไปในทิศทางใด โดยอาจนำสารนั้นมาใช้ ประโยชน์ทางการรักษาจากการทราบประเภทของสาร ในขณะเดียวกันผลต่างๆ จะทำให้สามารถ เชื่อมโยงไปสู่อาการที่พบเมื่อผู้ใช้สารมาเข้ารับการรักษาขณะใช้สารระยะต่างๆ เช่น ขณะเป็นพิษ (intoxication) ขณะถอนสาร (withdrawal) หรือการใช้สารจนเกิดผลกระทบทางจิตประสาท และ ทางกายในระยะยาว ทำให้สามารถเลือกวิธีการบำบัดรักษาได้ตรงกับตัวอาการและชนิดของสาร แต่ละประเภทได้ต่อไป
การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน
- การตรวจขั้นต้น : ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง สะดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
- การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง

หากต้องการซื้อที่ตรวจสารเสพติด บริษัท แม็กดีซีน จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจำหน่าย ชุดตรวจสารเสพติด ในปัสสาวะที่มีคุณภาพและมีใบรับรองผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ FSC , ISO 13485 และ TÜV Rheinland ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ท่านที่สนใจสามารถคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ติดต่อสอบถาม
เพิ่มได้ทันที
ขอบคุณแหล่งที่มา
ความรู้เรื่องยาเสพติด, สารเสพติดมีอะไรบ้าง